วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

ผ้าฝ้าย เกี่ยวกับการทอผ้า ประวัติการทอผ้า





โครงงาน IS เรื่อง
ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น



บัว ส่วยอู
และคณะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3


เสนอ
คุณครูภูมิพัฒน์ งานสัมพันธฤทธิ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


โครงงาน IS เรื่อง...ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29


โครงงาน IS เรื่อง
ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น


จัดทำโดย
                                น.ส. บัว ส่วยอู            เลขที่ 20
                                น.ส. ศิวาภรณ์ บุญไชย  เลขที่ 21
                                น.ส. จรัลพร แก่นสาร   เลขที่ 27
                                น.ส. ณัฐธิดา วงศ์จีน     เลขที่ 28
                                น.ส. ธนัชพร สาระกิจ   เลขที่ 29
                                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3


เสนอ
คุณครูภูมิพัฒน์ งานสัมพันธฤทธิ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี


โครงงาน IS เรื่อง..ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา IS 3
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29





เกี่ยวกับโครงงาน
โครงงาน IS 3
เรื่อง ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้จัดทำ       1.น.ส. บัว ส่วยอู          เลขที่ 20 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3
               2.น.ส. ศิวาภรณ์ บุญไชย เลขที่ 21 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3
               3.น.ส. จรัลพร แก่นสาร เลขที่ 27 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3
               4.น.ส. ณัฐธิดา วงศ์จีน   เลขที่ 28 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3
               5.น.ส. ธนัชพร สาระกิจ  เลขที่ 29 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ม.6/3

ครูที่ปรึกษา  1. คุณครูสุภิษฏา การินทร์
              2. คุณครูดาวัลย์ สุโพธิ์
              3. คุณครู ณิจชนันท์ ทองอ่อน

สถานศึกษา  โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร อำเภอเขื่องใน
               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

ปีการศึกษา   2/2561


ชื่อเรื่อง ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น
ชื่อผู้ค้นคว้า น.ส.บัว ส่วยอู และคณะ ชั้น ม.6/3
สังกัด    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29
ปี 
2561

บทคัดย่อ

           โครงงาน IS เรื่องถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์การทอผ้าที่ถือเป็นภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาชาวบ้านที่ล้ำค่าเพื่อเสนอวิธีการทอผ้าแก่บุคคลที่ไม่ทราบเพื่อให้คนที่สนใจในการศึกษาค้นคว้าที่นำไปสู่อาชีพ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นสินค้าไทยส่งออกไปในต่างประเทศโดยใช้รูปแบการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
           ผลการศึกษาค้นคว้าประกอบโครงงาน IS เรื่อง ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่นพบว่า ฝ้ายที่ใช้ทั่วไปได้มาจากปุยที่ติดอยู่กับเมล็ดของฝ้ายดอก เป็นใยสั้นๆประกอบด้วยเซลลูโลสเกือบทั้งหมดโดยมี 2 สายพันธุ์ คือ อัปแลนด์ และ อียิปต์ เมื่อกล่าวถึงฝ้ายแล้วก็จัดเป็นผ้าไทยชนิดหนึ่งซึ่งมีประวัติความเป็นมา คือ ผ้าไทยได้สืบสานมาแต่บรรพบุรุษสืบต่อกันมาในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากมาย เช่น เสื้อผ้า หมอน กระเป๋า ฯลฯ ซึ่งมีลักษณะลวดลายผ้าหลายแบบ เช่น ลายขิด ยก ตีนจก น้ำไหล มัดหมี่ แพรวา ม่อฮ่อม บาติค เป็นต้น ส่วนประวัติความเป็นมาของผ้าฝ้ายในประเทศไทยนั้น คงมีขึ้นหลังการทอผ้าจากป่านกัญชา สันนิษฐานว่าการปลูกฝ้ายในไทยรับเอาพันธุ์และวิธีการมาจากประเทศอินเดีย ซึ่งแหล่งกำเนิดของฝ้าย คือ แหล่งโบราณคดีโมฮันโจ ดาโร ประเทศปากีสถานปัจจุบัน ฝ้ายมีลักษณะเนื้อผ้าฝ้ายมี 3 ลักษณะได้แก่ ผ้าฝ้ายแท้ ผ้าฝ้ายผสมผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าใยสังเคราะห์ นอกจากเรื่องของผ้าแล้วยังต้องทราบเรื่องเกี่ยวกับการทอผ้าซึ่งเป็นกระบวนการพื้นฐานที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ในยุคแรกๆ และการทอผ้ายังมีความสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มีจุดประสงค์ในการใช้เป็นของใช้สอยในชีวิตประจำวัน ใช้ในพิธีการทางศาสนาต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการใช้จำหน่ายอีกด้วย นอกจากนั้นยังได้คุณค่าจากการทอผ้าทั้งต่อมนุษย์และสังคมไทยอีกด้วย ซึ่งการทอผ้านั้นต้องรู้จักอุปกรณ์ การปลูกฝ้าย การทำเส้นฝ้าย และกรรมวิธีการทอที่ถูกต้อง จึงจะได้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์สวยงาม
  

กิตติกรรมประกาศ

          โครงงาน IS เรื่อง ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะความเมตตากรุณา คอยชี้แนะพร่ำสั่งสอนให้คำปรึกษา ให้ข้อคิด คำแนะนำ และตรวจปรับปรุงแก้ไขของ คุณครูภูมิพัฒน์ งานสัมพันธฤทธิ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอกราบขอบพระคุณท่านอย่างสูงยิ่ง
          ขอขอบคุณ คุณครูเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1 ที่ได้ให้กลุ่มของพวกเรายืมหนังสือ
ขอขอบคุณ คุณครูเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ที่ได้ให้กลุ่มของพวกเรายืมหนังสือ
ขอขอบคุณพ่อแม่ที่ให้การสนับสนุน
ขอขอบคุณ สมาชิกภายในกลุ่มที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและช่วยเหลือกันตลอดมา


                  บัว ส่วยอู
        และคณะ


คำนำ
           โครงงาน IS เรื่อง ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น เป็นส่วนหนึ่งของวิชา โครงงาน IS จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์การทอผ้าที่ถือเป็นภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาชาวบ้านที่ล้ำค่าเพื่อเสนอวิธีการทอผ้าแก่บุคคลที่ไม่ทราบเพื่อให้คนที่สนใจในการศึกษาค้นคว้าที่นำไปสู่อาชีพ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นสินค้าไทยส่งออกไปในต่างประเทศ
          โครงงาน IS เรื่อง ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น  มีขอบข่ายประเด็นการศึกษาค้นคว้าหัวข้อ ความสำคัญ  ประวัติความเป็นมา  ลักษณะ แหล่งกำเนิด วัตถุประสงค์ คุณค่า และผลิตภัณฑ์รวมถึงการแปรรูปและและตัวอย่างการทอผ้าฝ้ายในพื้นที่ต่างๆอีกด้วย
           คณะผู้จัดทำหวังว่ารายงานการศึกษาค้นคว้าโครงงาน IS เรื่องถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น  จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่สนใจกับประเด็นศึกษานี้

     บัว ส่วยอู
     และคณะ



สารบัญ

                                                                                                  หน้า

เกี่ยวกับโครงงาน                                                                               
บทคัดย่อ                                                                                         
กิตติกรรมประกาศ                                                                             
คำนำ                                                                                              
สารบัญ                                                                                           
บทที่1 บทนำ                                                                                    1-2
บทที่2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                     3-19 
บทที่3 วิธีการดำเนินการ                                                                       20
บทที่4 ผลการศึกษา                                                                            21-22
บทที่5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ                                              23-24
บรรณานุกรม                                                                                    25-16
ภาคผนวก                                                                                        27-47
     


บทที่ 1
บทนำ
ถักทอเส้นใยสานใจเป็นฝ้ายซิ่น “Thak Thor Sain Yai San Jai Pen Faii Sin”

1.ความเป็นมา
           ทุกข์บมีเสื้อผ้า  ฝาเฮือนเพาะพอลี้อยู่  ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง   นอนลี้อยู่บ่เป็น
           จากข้างต้น เป็นผญาภาษิตที่สะท้อนให้เห็น ทัศนะความรู้สึกของคนอีสานอีกด้านหนึ่งที่สำคัญมาก ในชีวิตก็คือ ข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิต ส่วนเสื้อผ้าและที่อยู่อาศัยนั้น ดูจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญรองลงไป แต่ในความจริงของการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่ต้องสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใช้ร่วมกันนั้นก็ย่อมปฏิเสธได้ยาก เพราะจำเป็นต้องมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยที่มีบางสิ่งบางอย่างสามารถใช้เป็นเครื่องแสดงสถานภาพของสังคมของผู้คนได้เช่นเดียวกันกับเรื่องอาหารการกิน (สมชาย นิลอาธิ ,2537: 2)
           กล่าวถึงเครื่องนุ่งห่มสำหรับภาคอีสานแล้ว ก็มีผ้าฝ้ายกับผ้าไหมที่มีใช้กับทั่วไปที่เป็นเช่นนั้นเพราะปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฝ้ายปลูกได้ในท้องถิ่นนั้นๆ การทอผ้าฝ้ายสืบสานมาแต่บรรพบุรุษ ไหมเลี้ยงได้ในพื้นที่นั้นๆ เป็นการประหยัดในการซื้อเส้นใยสังเคราะห์เหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นทั้งเอกลักษณ์ที่งดงามดีงาม และเป็นการนำของไทยผลิตสินค้าไทยบริโภคในสังคมไทย
           ฝ้ายเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการทอของไทย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้ทั่วไปทุกภาคในประเทศไทย เพราะเป็นพืชเขตอากาศร้อน ชอบดินเหนียวปนทราย อากาศโปร่ง ไม่ชอบที่ร่มเงาบัง เส้นใยของฝ้ายดูดความชื้นได้ง่าย ทำให้เมื่อสวมใส่ผ้าฝ้ายก็จะรู้สึกเย็นสบาย การปลูกฝ้ายจะปลูกในเดือนพฤษภาคมต่อกับเดือนมิถุนายนหรือปลายเดือนกรกฎาคมต่อสิงหาคม และฝ้ายจะแก่จนแตกปุยในประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกฝ้ายและข้าวพร้อมๆกัน ระยะเวลาปลูกจนกระทั่งเก็บปุยฝ้าย ใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน หลังจากนั้นก็จะนำเส้นใยจากปุยฝ้าย มาทอเป็นผืนผ้าสำหรับนุ่งห่มและใช้สอย ในชีวิตประจำวัน(วรรณา วุฒฑะกุล และ ยุรารัตน์ พันธุ์ยุรา ,2537: 20)
           เป็นการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของฝ้าย  การถักทอฝ้ายในแต่ละขั้นแต่ละวิธีจนกลายมาเป็นผ้าซิ่น ที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆไว้ใน ผ้าซิ่นของแต่ละจังหวัด เพื่อถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาของการทำผ้าซิ่นในแต่ละจังหวัดเอาไว้ และยังรวบรวมความรู้กระบวนการในการทำผ้าซิ่นตั้งแต่การปลูกฝ้าย การใส่ใจในการถักทอ จนกลายมาเป็นผ้าซิ่น
2.วัตถุประสงค์
           2.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับฝ้าย ผ้าฝ้าย การทอผ้า และผ้าซิ่น
           2.2 เพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกฝ้าย การเปลี่ยนจากฝ้ายเป็นผ้าฝ้าย การทอผ้า
           2.3 เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน
3. สมมติฐาน
           ทำให้คนสนใจการปลูกผ้า การทอผ้าฝ้ายมากขึ้น มีคนรู้จักผ้าซิ่นมากขึ้นมีคนรุ่นหลังสืบสานไว้ในอนาคต

4.ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
           4.1 ขอบเขตเนื้อหา
                 ฝ้าย ผ้าฝ้าย การทอผ้า บางพื้นที่ที่มีการทอผ้าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           4.2 สถานที่
                 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           4.3 ระยะเวลา
                 ภาคเรียนที่ 2/2561
           4.4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                 ผู้อาวุโสอำเภอเขื่องในที่มีความรู้เรื่องการทอผ้า
5. ประโยชน์ที่ได้รับ
           5.1 ได้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับฝ้าย ผ้าฝ้าย การทอผ้า และผ้าซิ่น
           5.2 ได้เรียนรู้วิธีการปลูกฝ้าย การเปลี่ยนจากฝ้ายเป็นผ้าฝ้าย การทอผ้า
           5.3 ได้อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมานาน



บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ฝ้าย(Cotton)

           ฝ้ายที่ใช้ทั่วไปได้มาจากปุยที่ติดอยู่กับเมล็ดของฝ้ายดอก เป็นใยสั้นๆประกอบด้วยเซลลูโลสเกือบทั้งหมด เซลลูโลสเป็นส่วนประกอบที่เป็นของแข็ง (เนื้อ) ของพืชทุกชนิด กระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือเล่มนี้ก็เป็นเซลลูโลสฝ้ายมีหลายพันธุ์ ให้ใยที่ต่างกันเล็กน้อย บางชนิดให้ใยยาว บางชนิดให้ใยสั้นบางชนิดปุยจะมีสีขาวกว่าอีกชนิดหนึ่ง
           ฝ้ายพันธุ์อัปแลนด์ (Upland) ใยจะสั้น มีเส้นใยยาวประมาณครึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้ว ปลูกกนมากแถบตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ฝ้ายส่วนใหญ่ที่ผลิตเป็นฝ้ายพันธุ์ต่างๆที่ให้ใยสั้น นำมาทอผ้าได้หลายชนิด
           ฝ้ายพันธุ์อียิปต์ (Egyptian) เป็นฝ้ายพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงคุณภาพให้ได้ใยยาวมากถึง 2 นิ้ว ใยสั้นชนิดยาวนี้ใช้ทำผ้าเนื้อละเอียด เรียบ และทนทาน ลักษณะเฉพาะเหล่านี้เหมาะสำหรับทำด้ายถักลูกไม้เนื้อละเอียด ผ้าเนื้อบาง และด้ายเย็บผ้า ปัจจุบันฝ้ายพันธุ์อียิปต์สามารถปลูกในประเทศอื่นได้ผลดีเท่ากับปลูกในประเทศอียิปต์ แต่เนื่องจากระบบชลประทานเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการผลิตฝ้ายใยยาว ด้วยเหตุนี้พื้นที่ที่จะให้กำไรในการปลูกฝ้ายจึงมีอยู่จำกัด (นวลแข ปาลิวนิช. 2534 : 8-9 )

2. ประวัติความเป็นมา

           2.1 ประวัติความเป็นมาของผ้าไทย
                 ผ้าไทย หมายถึง ผ้าทุกชนิดที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นโดยฝีมือคนไทยได้สืบสานมาแต่บรรพบุรุษสืบต่อกันมาในแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกันไป ได้แก่ ผ้าลายขิด ผ้ายก ผ้าจก น้ำไหล มัดหมี่ ผ้าพื้นเมือง เป็นต้น เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากมาย เช่น เสื้อผ้า หมอน ผ้าห่ม กระเป๋า ฯลฯ สร้างชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วโลก ส่งผลให้ชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองไทยหลงใหล ถึงกับเดินทางไปแสวงหาตามแหล่งต่าง ๆ เพื่อซื้อติดไม้ติดมือไปใช้สำหรับตนเอง หรือเป็นของฝากญาติสนิทมิตรสหาย สร้างรายได้ให้กับประเทศชาติเป็นเงินมากกว่าพันล้านบาทต่อปี โดยส่วนใหญ่ผ้าไทยแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติและบุคคลทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทอมาจากเครื่องกี่มือและกี่กระตุกมีโครงสร้างของเส้นด้ายทำจากเส้นใยธรรมชาติจำพวกไหม (Slik) และฝ้าย (Cotton) มีเพียงส่วนน้อยที่ทำจากลินิน แต่ในปัจจุบันกลุ่มผู้ผลิตบางคนดัดแปลงโครงสร้างโดยการนำเส้นใยเรยอน (Rayon) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ไหมเทียม" มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ บางชนิดอาจทำจากเส้นด้ายผสมของเส้นใยชนิดต่าง ๆ( ความเป็นมาของผ้าไทย. ม.ป.ป. : ออนไลน์ )
    

           2.2 ประวัติความเป็นมาของผ้าฝ้าย
                 การทอผ้าฝ้ายในประเทศไทยนั้น คงมีขึ้นหลังการทอผ้าจากป่านกัญชา สันนิษฐานว่าการปลูกฝ้ายในไทยรับเอาพันธุ์และวิธีการมาจากประเทศอินเดีย และหลังจากพบว่าผ้าทอจากฝ้ายมีเนื้อนุ่ม สวมใส่สบายและย้อมติดสีดีกว่าผ้าป่านกัญชา อีกทั้งขั้นตอนและกระบวนการแยกและเตรียมฝ้ายก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาน้อยกว่าการเตรียมป่านกัญชามาก ชาวไทยจึงค่อย ๆใช้ป่านกัญชาลดลงตามลำดับ ปัจจุบันแหล่งปลูกฝ้ายในประเทศไทย คือ จังหวัดเลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สุโขทัย เพชรบุรี นครราชสีมา และกาญจนบุรี
                 พันธุ์ฝ้ายในประเทศไทยมีหลายชนิด และมีฝ้ายพื้นเมืองอยู่ 2 สายพันธุ์ ซึ่งให้ปุยสีขาวอย่างที่มักพบเห็นทั่วไป และฝ้ายพันธ์ซึ่งให้ปุยสีน้ำตาลอ่อนที่ชาวบ้านเรียกกันว่าสีขี้ตุ่นหรือสีตุ่น และเรียกฝ้ายชนิดนี้ว่าฝ้ายตุ่น ฝ้ายตุ่นเป็นพันธุ์ฝ้ายที่หายากและปั่นยากกว่าฝ้ายพันธุ์สีขาว เนื่องจากมีปุยสั้นและไม่ค่อยฟูเหมือนพันธุ์สีขาว ดอกฝ้ายตุ่นมีขนาดเล็กสีน้ำตาล เส้นใยสั้น ใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการทอผ้าด้วยมือแบบพื้นเมือง ส่วนฝ้ายพันธุ์ชนิดอื่น ๆ มักใช้ทอผ้าในระดับอุตสาหกรรมฝ้าย
                 ผ้าที่ทอจากฝ้ายส่วนใหญ่คือ ผ้าทอจากทางภาคเหนือ ชาวล้านนาจะเริ่มปลูกฝ้ายราวเดือนพฤษภาคมและรอเก็บในเดือพฤศจิกายน นิยมเก็บฝ้ายก่อนที่ฝ้ายจะร่วงลงสู่พื้น ป้องกันไม่ให้ฝ้ายสกปรก หลังจากเก็บฝ้ายแล้วชาวบ้านต้องนำฝ้ายไปตาก เพื่อคัดเอาแมลงและสิ่งสกปรกออก ก่อนจะนำไปหีบหรืออีดในที่อีดฝ้าย แยกเอาเมล็ดออกก่อนนำไปปั่นเป็นเส้นด้าย ( ความเป็นมาของผ้าฝ้าย. 2555 : ออนไลน์ )

           2.3 ประวัติความเป็นมาของการทอผ้า
                 2.3.1 การปั่นด้ายและการทอผ้า
                       การปั่นด้าย คือ กระบวนการของการชักเส้นใยออกมาแล้วม้วนหรือบิดให้เป็นเส้นด้ายที่มีความยาวต่อเนื่อง แกนปั่นด้ายแบบใช้มือได้เกิดขึ้นในสมัยอารยธรรมโบราณ ต่อมาภายหลังก็พัฒนามาเป็นกงปั่นด้าย ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งของการผลิตสิ่งทอ และเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการถ่ายทอดวิทยาการด้านสิ่งทอจากตะวันออกสู่ตะวันตก วิทยาการด้านนี้น่าจะมีต้นตอมาจากจีน และแตกแขนงมาจากกลไกที่ใช้ทำผ้าไหม เพราะผ้าไหมแต่ละพับนั้นยาวต่อกันหลายร้อยเมตร จึงเห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมการทอผ้าไหมของจีนต้องมีเครื่องปันไหมที่จะใช้ในการทอผ้าที่มีความยาวมากเช่นนี้แน่
                       การทอเป็นขั้นตอนหลักของการผลิตสิ่งทอโดยใช้เครื่องทอหรือหูก หลักพื้นฐานคือ  สอดด้ายกลุ่มหนึ่ง (เรียกว่า ด้ายแนวตรง) ให้ได้มุมฉากกับด้ายอีกกลุ่มหนึ่ง (เรียกว่า ด้ายแนวขวาง) กรอบของหูกจะขึงด้ายแนวตรงตามยาวไว้ในขณะที่ด้ายแนวขวางจะถูกชักทอเข้ามา(สตรวน รีด.  2540 : 30-31 )

3. แหล่งกำเนิดของผ้าฝ้าย         

           ฝ้าย (Cotton) คือ เส้นใยเก่าแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกให้รู้ว่ามีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือ การขุดพบฝ้ายในซากปรักหักพังอายุประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจ ดาโร (Mohenjo daro) บริเวณแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน ( แหล่งกำเนิดฝ้าย.  2555 : ออนไลน์ )

4. ความสำคัญ

           4.1 ด้านเศรษฐกิจ  
                 ผ้าทอมือ เป็นผ้าทอพื้นบ้านของไทยส่วนใหญ่จะใช้เส้นใยจากธรรมชาติทั้งฝ้ายและไหม ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชื่นชมและหลงใหล เสน่ห์ผ้าทอมือของไทย ดังเห็นได้จากการแสดงแฟชั่นโชว์ ผ้าทอพื้นเมืองไทยในภาคต่างๆ การแสดงผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือภาคต่างๆ มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
           4.2 ด้านสังคม 
                 ในปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้านมากขึ้น หันมาบริโภคสินค้าไทย นิยมแต่งกายด้วยผ้าไทย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอมือในโครงการส่งเสริมอาชีพงานศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ โดยเฉพาะผ้าทอมือของไทยมีเทคนิคการทอลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่างๆ (ความสำคัญของการทอผ้า.  ม.ป.ป .: ออนไลน์ )                  
           4.3 ด้านวัฒนธรรม
                  การสืบทอดความคิด  ความเชื่อ  แบบแผนทางสังคม  จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่  และพัฒนาศักยภาพ  ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่  ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต  เพื่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมควบคู่กับการพัฒนาเป็นอาชีพและรายได้ของคนชุมชน การที่ผ้าทอเป็นที่สนใจและชื่นชอบของคนไทยทั้งอดีตและปัจจุบันรวมถึงชาวต่างชาติในจำนวนมากขึ้นทำให้ชาวต่างชาติได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ดีงามและได้สัมผัสความเป็นไทยแท้ของสินค้าไทย  ( ความสำคัญของการทอผ้า.  2555 : ออนไลน์ )

5. ลักษณะของผ้า

           5.1 ลักษณะลวดลายของผ้าไทย(ผ้าฝ้าย)
                 เป็นการสื่อความหมายให้ทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลป วัฒนธรรม ศาสนาของแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน แต่จุดประสงค์หลักของหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทนี้เพื่อต้องการถ่ายทอดจินตนาการให้ผู้สวมใส่ได้รับรู้แหล่งที่มาของผ้าที่มีรูปแบบการถักทอแตกต่างกันดังรายละเอียดต่อไปนี้
                 ผ้าทอลายขิด  คำว่า "ขิด" เป็นภาษาพื้นบ้านของชาวอีสานแผลงมาจากคำว่าสะกิด หมายถึง การขัดทำให้เกิดการซ้อนกันของเส้นด้าย 2 กลุ่ม คือ เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืน เกิดเป็นลวดลายที่มีความวิจิตรงดงามบนผืนผ้า ดังนั้นผ้าขิดจึงมีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันบางจังหวัดทางภาคเหนือ หันมาผลิตผ้าชนิดนี้เป็นอาชีพหลัก ถือว่าเป็นหัตถกรรมในครอบครัวที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
                 ลวดลายของผ้าขิดที่นิยมทอแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
                 1. กลุ่มของลายสัตว์ เช่น ช้าง พญานาค รังผึ้ง ตะขาบ
                 2. กลุ่มของลายพันธุ์ไม้ เช่น ดอกแก้ว ดอกมะลิ ดอกพิกุล
                 3. กลุ่มของลายสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ธรรมาสน์ ขันหมาก ดาวเทียม
                 4. กลุ่มของลายรูปทรงเรขาคณิต เช่น เส้นตรง วงกลม สามเหลี่ยม
                 5. กลุ่มของลายผสม หรือลายขัดแพรวา เช่น ช่อขันหมาก นาคสี่เหลี่ยม เป็นต้น
                 ผ้ายก ใช้วิธีการที่คล้ายคลึงกับผ้าทอลายขิด กล่าวคือ ใช้ไม้ปลายแหลมยกเส้นด้ายยืนให้ลอยขึ้น สอดใส่เส้นด้ายพุ่งที่ทำจากไหมเข้าไปขัดกับเส้นยืน กลายเป็นผ้าพื้นสลับกับการพุ่งด้ายที่ทำจากดิ้นเงินหรือดิ้นทองให้เกิดเป็นลวดลายตามความต้องการ เส้นด้ายยืนที่ใช้ทอผ้ายกส่วนใหญ่ทำจากไหม ไหมเทียม ฝ้าย และด้ายใยผสม เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผืนผ้า หัตถกรรมประเภทนี้มีมากในจังหวัดภาคเหนือ
                 ผ้าจกหรือผ้าซิ่นตีนจก  คำว่า "จก" แผลงมาจาก "ฉก" หมายถึง การทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้าด้วยเส้นด้ายพุ่งที่ทำจากไหมหรือฝ้าย ชนิดพิเศษมีสีสดใส ขัดกับเส้นด้ายยืนที่ถูกยกขึ้นด้วยไม้ปลายแหลม ขนแม่น หรือนิ้วมือ ลวดเร็วประดุจงูฉก มรดกทางวัฒนธรรมนี้สื่อถึงอุปนิสัย อารมณ์ที่เยือกเย็นของผู้ทอ มีขั้นตอนซับซ้อนมาก เป็นการผสมระหว่างการปักกับการทอผ้าขิดและผ้ายก กล่าวคือ การทอขิดหรือยกจะใช้เส้นด้ายพุ่งเป็นสีเดียวกันตลอดแนวตามความกว้างของผืนผ้า ส่วนผ้าจกลวดลายเกิดขึ้นจากการยกเส้นด้ายยืนขึ้นสอดใส่ด้ายพุ่งสีเดียวหรือหลายสีจกเข้าไปขัดกับเส้นยืนดังนั้นลวดลายที่เกิดจากเส้นด้ายพุ่งในแนวเดียวกันจึงมีสีต่างกัน
                 ผ้าล้วงหรือผ้าลายน้ำไหล  เป็นผ้าทอพื้นเมือง กลุ่มล้านนาในจังหวัดน่าน เชียงราย เชียงใหม่ โดยการสอดใส่เส้นด้ายพุ่งสีเดียวหรือหลายสีที่ทำจากฝ้ายและไหมขัดกับเส้นยืนประเภท ฝ้ายหรือด้ายผสม P/C ลวดลายที่ปรากฏบนผืนผ้าเป็นผลพวงมาจากสีของเส้นด้ายพุ่งที่ต่อเชื่อมกันอย่างลงตัว ประดุจดั่งการเคลื่อนตัวของสายน้ำในลำธาร สื่อให้ทราบถึงวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณี และอุปนิสัยของผู้ทอผ้า ลวดลายที่สำคัญได้แก่ ลายทางยาวคล้ายคลื่น บันได จรวด ชั้นของเจดีย์ เป็นต้น
                 ผ้ามัดหมี่  เป็นผ้าทอพื้นเมืองของภาคอีสานในจังหวัดสุรินทร์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ฯลฯ ภาคอื่นเช่นจังหวัด อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี ลวดลายของผ้ามัดหมี่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวของเส้นด้ายพุ่ง เนื่องจากกระบวนการย้อมสีจะใช้เชือกกล้วย พลาสติก มัดเส้นพุ่งที่ทำจากฝ้ายหรือไหมให้ได้ขนาดความยาวตามที่ต้องการ จุ่มลงไปในสีย้อม สีจะวิ่งไปตามช่องว่างของเส้นด้ายที่ไม่ได้ถูกมัด เกิดเป็นลวดลายตามที่ต้องการโดยมีคุณลักษณะพิเศษคือ ความเข้มข้นของสีไม่กลมกลืนกันเป็นผลมาจากวิธีการมัด บางท้องถิ่นอาจนำเส้นยืนมามัดและย้อมด้วยวิธีดังกล่าว แล้วจึงนำไปทอให้เส้นพุ่งขัดกับเส้นยืนได้ลวดลายที่แปลกออกไปแตกต่างกับผ้าชนิดอื่น
                 ผ้าแพรวา  เป็นผ้าพื้นเมืองที่สำคัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ คำว่าแพรวาเป็นคำผสมระหว่าง "แพร" ซึ่งหมายถึง การทอผ้าให้เป็นผืนด้วยฝ้ายหรือไหมและ "วา" หมายถึง ความยาวของผืนผ้าที่ทอได้ ด้วยวิธีขิดหรือขิดผสมจกได้ลวดลายตามแนวของเส้นด้ายพุ่งที่ใช้สีต่างกัน ดังนั้นลายที่เกิดขึ้นในแต่ละแถวจึงมีสีต่างกันด้วยในอดีตผ้าชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นผ้าชั้นสูงสำหรับโพกศีรษะและเสื้อเท่านั้น ไม่นิยมตัดเป็นกระโปรงหรือผ้าถุงผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จึงอยู่ในรูปของผ้าห่มเฉียงไหล่ ผ้าคลุมศีรษะ ผ้าสไบ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันนิยมนำมาตัดเย็บเป็นกระโปรงชุดสำหรับการสวมใส่
                 ผ้าม่อฮ่อม  เป็นผ้าพื้นเมืองที่สำคัญของจังหวัดแพร่ โดยใช้เส้นด้ายพุ่งและยืนที่ได้จากฝ้ายทอให้เกิดลวดลายขัดธรรมดาย้อมด้วยสีครามที่ได้จากต้นฮ่อมหรือต้นคราม จะได้ผ้ามีสีเดียวกันตลอดทั้งผืน ปัจจุบันนำมาตัดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
                 ผ้าบาติค  หรือผ้าปาเต๊ะ เป็นผ้าพื้นเมืองที่สำคัญของภาคใต้ในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส มีความแตกต่างกับผ้าไทยชนิดอื่นอย่างชัดเจน เนื่องจากลวดลายเกิดขึ้นจากการใช้สีเขียนหรือย้อมให้ซึมผ่านทะลุด้านหน้าหลังของผืนผ้าที่ทำจากฝ้าย ไหม และไหมเทียม แทนการถักทอ ผลิตภัณฑ์ที่ได้
                 ผ้าเกาะยอ  เป็นผ้าทอยกดอกที่มีชื่อเสียงของภาคใต้ในเขตเกาะยอ จังหวัดสงขลา วัสดุ ที่ใช้ในการทอผ้าเป็นฝ้ายและเส้นใยสังเคราะห์ นิยมทอผ้าซิ่น ผ้าตัดเสื้อ ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ลวดลายที่นิยมทอ ( ลักษณะลวดลายผ้า.  ม.ป.ป. : ออนไลน์ )

           5.2 ลักษณะเนื้อผ้า(ผ้าฝ้าย)

                 ลักษณะของเนื้อผ้า โดยทั่วไปเนื้อผ้ามีหลายแบบ ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้มี 3 ชนิด ดังนี้

เนื้อผ้า
ความยืดหยุ่น
การระบาย
อากาศ
ราคา
Cotton 100% (ผ้าฝ้าย)
สูงมาก
สูงมาก
สูง
TC ( Cotton ผสม Polyester )
ปานกลาง
ปานกลาง
จัดว่าอยู่ในเกณฑ์สูงอยู่
TK ( Polyester หรือ ใยสังเคราะห์ )
พอใช้
พอใช้
ถูกกว่าเนื้อผ้าชนิดอื่น
                      
                       5.2.1 ผ้าฝ้าย (cotton)
                       นิยมใช้ทำเสื้อชนิดต่างๆ มีราคาค่อนข้างสูง สมบัติทั่วไปของผ้าฝ้ายก็คือ สวมใส่สบาย ระบายอากาศได้ดีซับเหงื่อได้ดีเยี่ยม เนื้อผ้าจะมีลักษณะด้าน แต่ก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือมันจะยับง่าย เมื่อซักบ่อยๆ ก็จะย้วย
                       5.2.2 ผ้าฝ้ายผสมกับผ้าใยสังเคราะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/C หรือ TC
                       เป็นผ้าที่มีส่วนผสมเป็นใยสังเคราะห์ และนำเนื้อฝ้ายเข้ามาผสมรวมด้วยคุณสมบัติก็จะอยู่กลางระหว่างผ้า cottonและผ้า TK ผ้าชนิดนี้นิยมทอผ้าให้มีลักษณะเป็นรูเนื่องจากผ้าประเภท TK และ TC มีสมบัติในการระบายอากาศที่ไม่ค่อยดีนัก การทอผ้าจึงนิยมทอผ้าให้มีรูเล็กๆ เพื่อช่วยระบายอากาศ และเพื่อความสบายในการสวมใส่เนื้อผ้าจะมีลักษณะความมัน (น้อยกว่า TK) 
                       5.2.3 ผ้าใยสังเคราะห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าผ้า T/K หรือ TK
                       เป็นผ้าที่มีส่วนผสมหลักเป็นใยสังเคราะห์ เนื้อผ้าจะมีลักษณะมันคุณสมบัติ ทั่วๆไป คือ ผ้า TK จะไม่ค่อยยับ อยู่ทรง ไม่ย้วย สีไม่ตกแต่ข้อเสียก็คือเสื้อที่ทำจากผ้า TK ใส่แล้วจะร้อนเนื่องจากระบายอากาศไม่ดีผ้า TK จึงนิยมทอ ให้มีลักษณะเป็นรูเช่นกันทนทานหาได้ง่ายและวางขายตามท้องตลาด (ลักษณะเนื้อผ้าฝ้าย.  2555 : ออนไลน์ )
             5.2.4 ความเหมาะสมในการเลือกใช้

เนื้อผ้า
ความเหมาะสม
Cotton 100%
(ผ้าฝ้ายธรรมชาติ)
เหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้ในที่กลางแจ้งและโดนแดดบ่อยๆ
เพราะผ้าจะระบายอากาศได้ดีไม่ค่อย อมเหงื่อ
หรือต้องการความหรูหราใส่สบายแต่ราคาอาจจะสูงซักนิดนึง
TC
( Cotton ผสม Polyester )
เหมาะกับคนที่เหงื่อออกง่ายแม้ทำงานอยู่ในห้องแอร์
เพราะระบายอากาศได้ดีพอสมควรและข้อดีที่โดดเด่นกว่า Cotton 100%
คือ อยู่ทรง ไม่หดไม่ย้วย (ส่วน Cotton จะคุม % ความหดและย้วยลำบาก)
TK
( Polyester หรือ ใยสังเคราะห์ )
เหมาะที่จะใช้ในห้องแอร์ ไม่ค่อยโดนแดด

6. จุดประสงค์ของการทอผ้าฝ้าย

           สมชาย นิลอาธิ (2537: 3-4) กล่าวได้ว่าจุดประสงค์สำคัญอันดับแรกของการทอผ้าฝ้ายในอดีตคือ การทอเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันของทุกคนในครอบครัวเป็นหลัก  รวมทั้งญาติผู้ใหญ่และคนที่เกี่ยวข้องในชุมชนเพราะผ้าฝ้ายเป็นผ้าที่ทุกคนมีความจำเป็นต้องใช้สอยเป็นประจำตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกเพศ ทุกวัย และทุกฐานะชนชั้นในสังคม เช่น ผ้าอ้อมเด็กทารก เสื้อ ซิ่น(ผ้านุ่ง)  ตีนซิ่น  หัวซิ่น ซิ่นซ้อน (ซับใน) ซ่ง (กางเกง) ผ้าโสร่ง ผ้าแพต้ำ (ผ้าอีโป้หรือผ้าขาวม้า) ผ้าแพเปี่ยง ถุงกะเทียว ถุงย่าม ผ้าแพมน (ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าโพก) หมอนชนิดต่างๆ เสื่อ (ที่นอนยัดนุ่น) มุ้ง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน  ผ้ากั้นส้วม  (ผ้าม่านประตูห้องนอนลูกสาว-ลูกชาย)
           จุดประสงค์ในการทอผ้าฝ้ายที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวอีสานก็คือ  การใช้เส้นใยฝ้ายและผ้าฝ้ายในพิธีกรรมความเชื่อต่างๆในชีวิตทั่วไปตั้งแต่เกิดจนตายและพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนาทั้งเพื่อประโยชน์ใช้สอยโดยตรงและใช้เป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมหลายๆด้าน  ดังกรณีเช่นการทอผ้าฝ้ายทำหมอนขิดไปถวายพระ และใช้หมอนขิดเป็นของฝากกับผู้เคารพนับถือ ตลอดการทอผ้าฝ้ายถวายอุทิศให้กับวัดใช้เป็นธงชัยหรือธงปฏากในงานบุญฮีต 12 และถวายให้ใช้เป็นผ้าห่อหนังสือผูกใบลาน ฯลฯ จัดว่าเป็นการใช้ฝ้ายในพิธีกรรมโอกาสพิเศษ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงส่วนการใช้เส้นใยฝ้ายเป็นเครื่องพิธีกรรมอย่างหนึ่งร่วมกับสิ่งอื่นๆ ที่มักเรียกกันติดปากว่า ฝ้ายไนไหมหลอดหรือ ฝ้ายไน-ไหมปอยเช่นในพิธีผูกเสาแฮกและเสาขวัญ ในพิธีสู่ขวัญข้าวและควาย-วัว ในพิธีผูกเสี่ยว พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีเสี่ยงช่วงผีฟ้า ลำผีฟ้ารักษาผู้ป่วย บุญกุ้มข้าวใหญ่ ตลอดจนการใช้ผ้าฝ้ายที่นุ่งห่มในพิธีแต่งแก้-เสียเคราะห์  จัดว่าเป็นการใช้เส้นใยฝ้ายและผ้าฝ้ายเป็นสัญลักษณ์ร่วมพิธีกรรม  ซึ่งมักจะมีจุดประสงค์ตามความเชื่อแตกต่างกันไป  บางโอกาสก็ใช้เพื่อเป็นเคล็ดที่จะขจัดตัดขาดหรือเป็นสื่อนำสิ่งชั่วร้ายให้หนีหายและหมดไปจากตัวคนและบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  บางพิธีกรรมก็เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความหวังในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ในชีวิตที่ต้องอาศัยธรรมชาติและเผชิญกับภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถจะบังคับควบคุมได้เพื่อความผาสุกร่มเย็นในชีวิต  บางพิธีก็ใช้เส้นฝ้ายเป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันระหว่างคนกับคน  คนกับสัตว์และคนกับธรรมชาติ  เป็นต้น
                     
7. คุณค่าของการทอผ้าฝ้าย

           นิภาพร ทับหุ่น (2547 : 81-87 ) ได้ยกตัวอย่างการทำผ้าซิ่นตีนจกของชาวบ้านสายธาร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
                 แม่อุ๊ยคำเอ้ย กองจันทร์ แม่เฒ่าบ้านสองธาร วัย 72ปี กล่าวถึงการทอผ้าตีนจกแบบครั้งโบราณว่า เดิมทีเด็กหญิงทุกคนจะได้รับการฝึกหัดให้รู้จักการทอผ้าตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยากและลำบากมากเพราะไม่เพียงแค่การทอ แต่ยังมีขั้นตอนการปลูกฝ้าย การเก็บฝ้าย ที่แม้ไม่ต้องดูแลมากมายแต่ต้องใช้ความอดทนสูง โดยช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จะเป็นหน้าหว่านฝ้าย ทุกคนในหมู่บ้านจะถูกเกณฑ์กำลังไปช่วยกันหว่าน คล้ายการลงแขก พอประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ดอกฝ้ายก็เริ่มผลิบาน แต่ในระหว่างนั้นต้องดูแลเก็บหญ้าไม่ให้ขึ้นรกเรื้อด้วย เมื่อดอกฝ้ายบานจึงจะเริ่มเตรียมการเก็บฝ้าย ทอผ้า โดยอาศัยว่าทอใช้กันเองในครัวเรือนจึงไม่เร่งรีบ
           ปัจจุบันการทอผ้าตีนจกของชาวอำเภอแม่แจ่มถูกปรับเปลี่ยนให้เวียนไปตามกระแสแห่งเศรษฐกิจ ชาวบ้านทอผ้าเพื่อการค้ามากขึ้น ไร่ฝ้ายที่เคยฟุ้งกระจายไปด้วยดอกฝ้ายสีขาวนวล ถูกปรับเป็นไร่นา ไร่ถั่ว ชาวบ้านรับซื้อเส้นฝ้ายแทนการปลูกเอง เพราะประหยัดทั้งเวลา และสามารถผลิตผืนผ้าได้ตลอดปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังยืนยันที่จะสานภูมิปัญญาโบราณต่อไป ตราบเท่าที่แรงกายยังมีอยู่ ดังจะเห็นได้จากหญิงชราหลายคนตั้งหน้าตั้งตาด้นผ้า ผสมลาย ทั้งๆที่สายตาไม่ค่อยชัดเจนอาศัยใจรัก และทำงานในเวลากลางวัน แบ่งเบาภาระลูกหลานเท่าที่จำเป็น
           7.1 ต่อมนุษย์ คือ สมัยก่อนจนถึงปัจจุบันชาวบ้านใช้ฝ้ายมาทอเป็นผ้าซิ่นตีนจกใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มใช้เองภายในครัวเรือน
           7.2 ต่อสังคม คือ ชุมชนแห่งนั้นมีความสามัคคีกันเสมอมาในการร่วมกันปลูกฝ้าย การทำผ้าซิ่นตีนจก เป็นที่รู้จักในเรื่องการทอผ้าซิ่นตีนจกที่มีเพียงที่เดียวในประเทศไทยและยังมีรายได้จากการจำหน่ายผ้าซิ่นเหล่านั้น

8. ผลิตภัณฑ์และการแปรรูป

           8.1 วิธีการการทอผ้าฝ้ายและการปลูกฝ้าย
                 8.1.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า
                       1. กี่หรือหูก เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้า ให้เป็นผืนตามลวดลายที่ต้องการ
                       2. ฟันหวีหรือฟืม มีลักษณะเป็นกรอบโลหะภายในเป็นซี่ถี่ ๆ คล้ายหวี แต่ละเส้นจะใช้เส้นด้ายยืนสอด เข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้างของหน้าผ้าจัด เส้นยืนให้อยู่ห่างกนตามความละเอียดของผ้า
                       3. ตะกอหรือเขา มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเหล็ก ภายในทำด้วยลวด หรือซี่โลหะเล็ก ๆ มีรูตรงกลางสำหรับร้อยด้ายยืน ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตะกอมากขึ้น จะสามารถสลับลายได้มากขึ้น.
                       4. ไม้ไขว้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเส้นด้ายให้เป็นระเบียบ
                       5. ไม้ค้ำ ไม้ที่ใช้สอดด้ายเส้นยืน เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอ ด้วยเทคนิคพิเศษ
                       6. ไม้หาบหูก ใช้ประโยชน์ในการดึงด้ายให้ตึง
                       7.  ไม้ดาบหรือไม้หลาบ มีขนาด 2 – 3 นิ้ว ลักษณะแบนยาว ใช้สอดผ่านด้ายยืน แล้วผลิตขึ้นทำ  ให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน
                       8.  ไม้แป้นกี่ ที่นั่งของผู้ทอ บางแห่งใช้ไม้แผ่น บางแห่งใช้ไม่ไผ่ สอดด้วยแผ่นไม่ที่ใช้รองนั่ง
เชือกเขา ใช้ดึงเขากับไม้หางหูก ให้ตึง
                       9.  แกนม้วนผ้า เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว ( อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า.  ม.ป.ป. : ออนไลน์ )

                 8.1.2 การปลูกฝ้าย
                       ฝ้ายจะปลูกในเดือนพฤษภาคมต่อกับเดือนมิถุนายน    หรือเดือนกรกฎาคมต่อเดือนสิงหาคม   แล้วแต่ภูมิภาคที่ปลูก  ซึ่งเป็นฤดูฝนเป็นช่วงที่ฝ้ายได้รับฝนดี  ครั้นประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมฝ้ายจะแก่และแตกปุย  การปลูกฝ้ายชาวบ้านจะปลูกไปพร้อมๆ กับการปลูกข้าว ระยะเวลาที่ใช้ในการปลูกฝ้ายจนกระทั่งสามารถเก็บปุยได้ใช้เวลาประมาณ 67 เดือน ชาวบ้านทุกครัวเรือนสามารถปลูกฝ้ายได้ แล้วนำเส้นใยของฝ้ายมาทอเป็นผืนผ้า สำหรับเป็นเครื่องนุ่งห่ม และใช้ในชีวิตประจำวัน
                       -การเตรียมดินควรทำการเตรียมดินก่อนถึงฤดูปลูกประมาณ 1 เดือน โดยการไถดะ 1 ครั้ง พลิกดินและตากไว้ปล่อยให้วัชพืชแห้งตาย นอกจากนี้ศัตรูพืชอื่นๆ เช่น เชื้อโรค และแมลงศัตรูต่างๆ ก็จะถูกทำลายไปด้วย หลังจากนั้นประมาณ 2-3  สัปดาห์ จึงไถแปร ต่อมาก็ทำการพรวนดินให้มีขนาดละเอียดพอสมควรที่จะหยอดเมล็ดฝ้ายได้
                       -ระยะปลูก  ระยะระหว่างแถว 125 ซม. ระหว่างหลุม 50 ซม.
                       -วิธีการปลูก ควรปลูกฝ้ายเป็นแนวขวางทิศทางลม โดยการหยอดเมล็ดเป็นหลุมๆ หลุมละ 5-7 เมล็ด กลบดินให้มิดเมล็ด การปลูกจะมี 2 วิธีคือ  
                       การปลูกเมื่อดินมีความชื้นพอแล้ว วิธีนี้หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์แล้วจะกลบดินเพียงบาง ๆ ประมาณ2.5 ซม.
                       การปลูกเพื่อรอฝน เป็นการปลูกในขณะที่ดินยังแห้งและมีความชื้นไม่เพียงพอกับการงอก วิธีนี้จะต้องกลบดินให้หนาเมล็ดอยู่ลึกประมาณ 5 ซม.
                       -การดูแลรักษา
                       -ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ
                       ฝ้ายเริ่มงอกหลังจากปลูกไปแล้ว 3-5 วัน และมีช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบประมาณ 28 วัน เมื่อฝ้ายอายุได้ 15-20 วัน ควรทำการถอนแยกต้นฝ้ายครั้งแรก ให้เหลือ 2 ต้นต่อหลุม และทำการกำจัดวัชพืชด้วย   ในระยะนี้เกษตรกรควรระมัดระวัง  แมลงศัตรูฝ้ายประเภทปากดูด   เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น  เพลี้ยไฟ  เข้าทำลาย  หากพบว่ามีการระบาดของแมลงประเภทนี้ให้พ่นสารเคมี โอเมทโธเอท หรือโมโนโครโตฟอส อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนโรคฝ้ายที่สำคัญในระยะนี้คือ โรคใบหงิก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นตัวนำเชื้อมาสู่ต้นฝ้าย ดังนี้หากกำจัดเพลี้ยอ่อนลงได้ ก็จะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคใบหงิก ของฝ้ายได้
                       -ระยะติดปี้ (ดอกอ่อน)
                       ฝ้ายเริ่มมีดอกอ่อน หรือติดปี้เมื่ออายุ 28-30 วัน ระยะนี้เกษตรกรควรถอนแยกต้นฝ้ายให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ เพียง 1 ต้น ต่อหลุมมีการกำจัดวัชพืช และใส่ปุ๋ย พูนโคนต้นฝ้าย ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็น
                       ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 30-40 กก./ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวสีดำ
                       ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 40-60 กก./ไร่ ในพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวสีแดง
                       -ระยะออกดอก
                       ดอกฝ้ายบานฝ้ายออกดอกหรือดอกบานเมื่ออายุประมาณ 40-50 วัน ควรระมัดระวังการเข้าทำลายของหนอนเจาะสมอฝ้าย โดยหมั่นตรวจแปลงฝ้ายทุก 3-5 วัน     ในพื้นที่ขนาด 5 ไร่     ทำการสุ่มตรวจต้นฝ้ายให้ ทั่วแปลงจำนวน 30 ต้น ถ้าพบหนอนเจาะสมอฝ้ายมากกว่า6 ตัว จะต้องรีบพ่นสารเคมีกำจัด โดยใช้สารเคมีในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต เช่น ซัลโปรฟอส หรือ โปรเฟนโนฟอส สลับครั้งกับสารเคมีในกลุ่มอื่น ต้องไม่ใช้สารฆ่าแมลงเพียงกลุ่มเดียวฉีดพ่นกำจัดหนอนติดต่อกันตลอดฤดู
                       -ระยะติดสมอ
                       ฝ้ายจะเริ่มติดสมอเมื่ออายุประมาณ 60-65 วัน ในระยะที่ฝ้ายติดสมอจนถึงช่วงก่อนสมอแก่ (100  วัน) เกษตรกรต้องดูแลรักษาฝ้ายเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายเช่นเดียวกับที่ปฏิบัติในระยะที่ฝ้ายออกดอก หากพบว่ามีแมลงปากดูดชนิดใดชนิดหนึ่งระบาดจำเป็นต้องใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น โมโนโครโตฟอสพ่นเสริมด้วย
                       -การใส่ปุ๋ย
                       มักจะปฏิบัติไปพร้อมกับการพรวนดินพูนโคน จะใส่ปุ๋ยเมื่อฝ้ายอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ หลังงอก การให้ปุ๋ยฝ้าย 2 วิธี ดังนี้
                       การให้ทางดิน จะให้แบบโรยข้าง ๆ แถวฝ้าย อัตราปุ๋ยที่แนะนำคือในดินเหนียวสีดำ ควรใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 30 กก./ไร่ หรือให้ปุ๋ยยูเรีย 13 กก./ไร่ ใช้ดินเหนียวสีแดง ควรใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กก./ไร่
                       การให้ทางใบ จะผสมน้ำแล้วพ่นให้ทางใบฝ้าย มีปุ๋ยสูตรต่างๆ ในตลาดเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยทางใบกับฝ้าย
                       -โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบหงิก โรคใบไหม้ โรคใบจุด และโรคเหี่ยว
                       -แมลงศัตรูฝ้าย
                       ชนิดปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว
                       ชนิดปากเจาะ ได้แก่ หนอนเจาะสมอฝ้าย ( การปลูกฝ้าย.  2555 : ออนไลน์ )

                 8.1.3 การทำเส้นฝ้าย
                       โดยทั่วไปช่วงเวลาการเก็บฝ้ายจะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคม เมื่อเก็บดอกฝ้าย แล้วจะนำมาตากผึ่งแดดให้แห้งสนิท แล้วเก็บสิ่งสกปรกที่เจือปน ออกจนหมด นำไปแยกเมล็ดฝ้าย ออกจากปุยฝ้าย ด้วยวิธีการนี้เรียกว่า อิ้วฝ้ายแล้วนำปุยฝ้ายไปดีด ให้ปุยฝ้ายแตกตัวละเอียดฟูขึ้นด้วยแรงสั่นสะเทือนของสายดีด ซึ่งเรียกว่า กงดีดฝ้ายจากนั้นนำปุยฝ้ายที่ดีดจนเป็นปุยละเอียดดี แล้วไปล้อด้วย ไม้ล้อโดยใช้ไม้ล้อคลึงบนแผ่นปุยฝ้ายที่วางอยู่บน กระดานล้อให้เป็นแท่งกลมยาวแล้วดึงไม้ล้อออกแท่งกลมยาวที่ล้อเสร็จแล้ว เรียกว่า ดิ้วหลังจากนั้นจึงนำไปเข็นฝ้ายให้เป็น เส้นใย โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า หลาที่มีสายพานเชือกโยงจากหลา ไปปั่นหมุนแกนเหล็กใน เพื่อล้อฝ้ายให้เป็นเส้นใยพันม้วนอยู่กับแกนเหล็กใน เมื่อเต็มเหล็กไนแล้ว จึงจัดฝ้ายเข้า ไม้ขาเปียเพื่อทำเป็นไจหรือปอย โดยกะขนาดเอง หลังจากนั้นจึงนำเส้นฝ้ายไปย้อมสีที่ต้องการ ในบางท้องถิ่น นิยมนำเส้นด้ายไป ฆ่าด้วยการชุบน้ำข้าวหรือให้ฝ้ายมีความเหนียว คงทนไม่ขาดง่าย จากนั้นจึงนำไปใส่กงเพื่อกวักเส้นด้าย แล้วนำมาปั่นหลอดแยกเส้นฝ้ายออกเป็น 2 จำพวกคือ เส้นยืน และเส้นพุ่ง เพื่อใช้ในการทอผ้าต่อไป
( การทำเส้นฝ้าย.  ม.ป.ป. :  ออนไลน์ )

                 8.1.4 ขั้นตอนในการทอผ้าฝ้าย
                       ขั้นตอนที่ 1 นำฝ้ายเป็นใจมาคลี่ออกใส่กงกว๊าง เพื่อนำไปพันใส่บ่าหลุกกวักฝ้าย แล้วนำมาขินหรือปั่นใส่กระป๋องหรือหลอดไม้ขนาดใหญ่ การปั่นฝ้ายใส่กระป๋อง ถ้าต้องการเส้นฝ้ายที่มีเส้นใหญ่ อาจจะปั่นครั้งละ 2-3 ใจ ให้เส้นฝ้ายมารวมกัน
                       ขั้นตอนที่ 2 นำกระป๋องที่มีเส้นฝ้ายพันอยู่ไปเรียงตามลำดับ สี ของเส้นฝ้ายเส้นยืนตามลวดลายที่จะทอ โดยนำมาเรียงครั้งละประมาณ 40 กระป๋อง จะได้เส้นฝ้ายยืนครั้งละ 40 เส้น แล้วนำแต่ละเส้นไปคล้องกับบันไดลิง เพื่อไม้ให้เส้นฝ้ายพันกันและขึ้นเฟือขอต่อไป
                       ขั้นตอนที่ 3 นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ ซึ่งเฟือขอจะทำหน้าที่สำหรับเรียงฝ้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ และทำการสลับเส้นยืนสำหรับใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อสิ้นสุด การเรียงเส้นฝ้ายจะนำแต่ละเส้นมาม้วนเพื่อให้เกิดลักษณะของการสลับเส้น สำหรับการทอยกเป็นเส้นขึ้นเส้นลงที่ด้านล่างขาวของเฟือขอ
                       ขั้นตอนที่ 4 นำกลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่ แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนตามที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้เขี้ยวหมาหรือฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน เส้นด้ายในการทอลายหนึ่ง เพื่อแยกเส้นด้ายในการนำไปสืบฝ้ายกับเขาฟืม
                       ขั้นตอนที่ 5 หากทอลายเดิมที่เคยทอมา ก็จะนำฝ้ายเส้นยืนใหม่มาต่อกับเศษผ้าฝ้าย หรือเชิงชายที่ตัดมาจากการทอครั้งก่อนที่เรียกว่า "เครือ" เมื่อทอผ้าเสร็จแล้ว ช่างทอจะตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป เพื่อให้การสืบต่อลายทำได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่เก็บไว้ การเริ่มต้นขึ้นลายใหม่จะมีความยากลำบากมาก ดังนั้นช่างทอจึงต้องเก็บลายไว้ทุกเครือ เนื่องจากเส้นยืนมีความยาวมาก ก่อนทอหรือเมื่อทอไปได้สักระยะหนึ่ง เส้นยืนอาจจะพันกันได้ ดังนั้นจึงต้องคอยคลี่จัดเส้นยืนออกไม่ให้พันกัน
                       ขั้นตอนที่ 6 หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป ( ขั้นตอนในการทอผ้าฝ้าย , 2555 : ออนไลน์ )
           8.2 นวัตกรรมที่ได้
                 -ซิ่นที่เป็นผ้าฝ้ายที่มีลวดลายต่างๆที่ประณีตงดงาม
                 -เสื้อที่ทำจากฝ้ายทั้งแบบของเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ จนคนชรา
                 -มีการดัดแปรงทำเป็นกระโปรงเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กมากขึ้น
9.ตัวอย่างประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายในไทย
           9.1ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดน่าน
                 การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ไทลื้อคือ ผ้าซิ่น ของผู้หญิงไทลื้อ ที่เรียกว่า ซิ่นตาซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่มี ๒ ตะเข็บ มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ หัวซิ่นสีแดง ตัวซิ่นลายขวางหลากสีต่อตีนซิ่นสีดำ ความเด่นอยู่ที่ตัวซิ่น ซึ่งมีริ้วลายขวางสลับสีสดใส และตรงช่วงกลางมีลวดลายที่ทอด้วยเทคนิคขิด จก เกาะหรือล้วง เป็นลายรูปสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต จากการศึกษากลุ่มไทลื้อในประเทศไทย พบว่า เอกลักษณ์การทอผ้าที่สำคัญของกลุ่มชนนี้ คือ การทอผ้าด้วยเทคนิค เกาะหรือล้วง (Tapestry Weaving) หรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า ลายน้ำไหลซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ทำให้เกิดลวดลายและสีสันที่งดงามแปลกตา และเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างจากผ้าซิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่นๆ
           ในช่วงเวลา ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา เกิดกระแสการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการใช้ผ้าทอพื้นเมืองของไทย ทำให้เกิดการฟื้นฟูการทอผ้าพื้นเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ผ้าทอในยุคปัจจุบัน ตลอดจน กลไกการตลาด ในเรื่องราคาและความนิยมของผู้บริโภค ทำให้กลุ่มทอผ้าแต่ละกลุ่มเกิดการเลียนแบบรูปแบบของผ้าทอซึ่งกันและกัน จนทำให้ผ้าทอในแต่ละแห่งสูญเสียเอกลักษณ์ดั้งเดิมของตนเองไป โดยเฉพาะผ้าทอเทคนิคเกาะล้วงของไทลื้อในประเทศไทย เกิดปัญหาการที่ชุมชนไทลื้อแต่ละกลุ่มทอผ้าเป็นลวดลายที่ได้รับความนิยมของตลาด จนลืมลวดลายและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดจนอาจจะต้องเลิกทอผ้าไปในที่สุด ทำให้ขาดการสืบทอดมรดกวัฒนธรรมของไทลื้อแต่ละกลุ่ม ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
           ในปัจจุบันประเทศไทยมีชุมชนไทลื้อที่มีความสามารถทอผ้าเกาะล้วง แบ่งได้ ๓ กลุ่ม คือ ๑.กลุ่มไทลื้อ อ.เชียงของ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ๒.กลุ่มไทลื้อ อ.เชียงคำ จ.พะเยา และกลุ่มไทลื้อ อ.ปัว อ.ทุ่งช้าง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
           ตัวอย่างเช่นบ้านดอนหลวงเป็นชุมชนชาวยองเก่าแก่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2352 เดิมชื่อหมู่บ้าน กอถ่อน สถานที่ตั้งหมู่บ้านในอดีตเป็นที่ค้าวัวค้าควายมาก่อน ในรัชสมัยของเจ้ากาวิละ ได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองยอง ประเทศพม่าเข้ามาตั้งบ้านเรือนเพื่อ เก็บฮอมตอมไพร่มาบูรณะเมืองลำพูนหลังจากรกร้างไปคราสงครามกับพม่า โดยชาวยองกลุ่มนี้ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่ตั้งหมู่บ้านปัจจุบัน ต่อมาจึงเกิดเป็นชุมชนใหญ่ประกอบกับที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่ดอน จึงเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า บ้านดอนหลวงมีงานหัตถกรรมทอผ้าฝ้ายทอมือเป็นอาชีพเสริมรายได้ให้กับแม่บ้านและมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาสืบต่อกันมา จนกลายเป็นหมู่บ้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องของผ้าฝ้ายทอมือแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน ในปัจจุบัน
           ชาวบ้านดอนหลวงมีการเรียนรู้ในเรื่องการทอผ้ามาเมื่อประมาณ 125 ปี โดยมีคนม่าน (คนพม่า) มาจากเมืองม่าน เดินทางเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านและสอนการทอผ้าให้คนในหมู่บ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ฝ้ายที่นำมาทอ มาจากต้นฝ้ายที่ปลูกขึ้นเองในบริเวณบ้านและหัวไร่ปลายนาของชาวบ้านที่อยู่นอกหมู่บ้าน อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ทอผ้าทั้งกี่และอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆผลิตขึ้นเองในหมู่บ้าน โดยผู้มีความชำนาญด้านช่าง การที่มีความรู้ความชำนาญในการทอผ้าที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาทำให้หญิงสาวในหมู่บ้านดอนหลวง ยุค 60 ปี ที่ผ่านมา ยึดการทอผ้าเป็นอาชีพเสริมหาเลี้ยงครอบครัว โดยในราวปี พ.ศ.2500 ได้เดินทางออกไปรับจ้างทอผ้าให้แก่ร้านค้าในตลาดอำเภอ ป่าซาง ในลักษณะไปเช้าเย็นกลับโดยใช้รถจักรยานเป็นพาหนะ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นการรับฝ้ายมาทอในหมู่บ้าน แล้วนำกลับไปส่งให้ผู้ว่าจ้างในตัวอำเภอ การรับจ้างทอผ้ายังคงมีความต่อเนื่องมาอีกนับ 20 ปี
           ปัจจุบันช่างทอผ้าหลายคนในหมู่บ้านดอนหลวงหลายคน รวมตัวกันทอผ้าอยู่ที่โรงทอผ้าในบ้านของ นางบุญเมือง คำปัน หรือที่ชาวบ้านและคนทั่วไปที่รู้จักเรียกว่า ป้าเมืองซึ่งเป็นหนึ่งในหญิงสาวที่เคยไปรับจ้าง ทอผ้าในตัวอำเภอป่าซาง แต่ต่อมาได้แต่งงานมีลูกต้องเลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน ไม่สามารถไปรับงานมาทำได้ จึงคิดทอผ้าเพื่อขายเองในหมู่บ้าน นับว่าเป็นผู้ประกอบการรายแรกของหมู่บ้าน โดยการทอผ้าในช่วงเริ่มต้นของป้าเมือง เป็นการทอพรมเช็ดเท้า กระเป๋า ผ้ารัดปะคต ด้วยเชือกป่านหรือเชือกกระสอบ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่
           ในปีพ.ศ. 2535 ทางราชการ ได้เข้ามาสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม ผู้ทอผ้าในบ้านดอนหลวงขึ้น เพื่อร่วมกันจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอบรมเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ ให้สมาชิก ผู้ทอผ้า ชาวบ้านประมาณ 10 คน จึงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ทอผ้าฝ้ายบ้านดอนหลวงขึ้น และได้ชักชวนชาวบ้านเข้ามาเป็นสมาชิกทั้งหมด 50 คน มีหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงาน เข้ามาสนับสนุน ต่อมาสมาชิกได้เริ่มประกอบกิจการของตนเอง มีการผลิตมากขึ้น กลุ่มฯ ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการทอผ้า โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จึงมีการขยายกำลังการผลิตและแบ่งการบริหารออกเป็น 6 จุด แต่ละจุดบริหารจัดการด้วยตนเอง นางบุญเมือง คำปัน ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในหกจุดดังกล่าว และได้รับการยอมรับว่าเป็นครูภูมิปัญญาที่มีความรู้ความชำนาญในการทอผ้า นอกจากนี้บ้านดอนหลวงที่มีการทอผ้ามาอย่างต่อเนื่องนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีบุคคลที่เป็นที่ยอมรับว่ามีความชำนาญด้านการทอผ้าคนอื่นๆ อีก เช่น นางอรพิน สุขร่องช้าง ผู้มีความชำนาญด้านการแกะลายและการทอผ้า นางบัวเพชร ขัดสงคราม ชำนาญด้านการทอตุง และยังมีช่างทออีกหลายคนในหมู่บ้านที่ยังคงประกอบอาชีพเกี่ยวกับการทอผ้า
           บ้านดอนหลวง ได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการทอผ้าฝ้ายทอมือ โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1(ภาคเหนือ)ในปี 2542 และมีการก่อสร้างศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เครือข่ายกลุ่มทอผ้าหัตถกรรมพื้นบ้านอำเภอป่าซาง ได้รับการส่งเสริมให้มีการทอผ้าลายใหม่ ๆ จนกลายเป็นสินค้า OTOP ขึ้นชื่อของหมู่บ้าน (ประวัติความป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดน่าน,ม.ป.ป. ออนไลน์)

           9.2 ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดอุดรธานี
           การทอผ้าเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย จนมาถึงปัจจุบัน โดยมีการปลูกฝ้ายและนำดอกฝ้ายมารวมกันแล้ว อิ้ว, ดีด เข็น เป็นเส้นด้าย แล้วนำด้ายมาชุบน้ำข้าว ผึ่งแดดให้แห้ง ขั้นต่อไปนำไปกวัก ค้น สืบ นำไปทอเป็นผืนผ้า ซึ่งเป็นผ้าพื้นสีขาว ถ้าต้องการผ้าสีก็นำไปย้อมคราม ถ้าต้องการลวดลายให้นำไปมัดหมี่ ซึ่งเรียกว่าการทอผ้าฝ้ายมัดหมี่ ออกแบบลาย ทอด้วยมือ ผูกพันกับทุกครอบครัวในชุมชน ซึ่งจะทอหลังฤดูเก็บเกี่ยว กลุ่มแม่บ้านเห็นความสำคัญและต้องการอนุรักษ์ รวมทั้งเป็นกิจกรรมสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ปี ๒๕๔๘ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ในการฝึกอบรมอาชีพการทอผ้าที่ศูนย์ทอผ้าอำเภอพิบูลย์รักษ์ โดยผู้นำในชุมชนและชาวบ้านที่สนใจเข้ารับการฝึกอบรม หลังจากฝึกอบรม จึงจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกมีงานทำ มีรายได้เสริม หลังฤดูทำนา เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ ชื่อกลุ่มทอผ้าทุ่งสีทอง หมู่ที่ ๑๐ มีสมาชิก ๑๐ คน มีการระดมทุนและได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท
           การทอผ้าเดิมที่นิยมทอเป็นผ้าพื้น ผ้าพื้นก็คือผ้าที่ไม่มีลวดลายจะทอเป็นผ้าพื้นสีขาว สีดำสีครามหรือสีน้ำเงิน ส่วนใหญ่การทอผ้าจะเป็นหน้าที่ของผู้หญิงซึ่งเปรียบเสมือนการแบ่งหน้าที่กันทำเป็นการแสดงออกถึงอุปนิสัยของผู้หญิงด้วยซึ่งต้องใช้ความละเอียด เพราะการทอผ้าเป็นงานศิลปะที่ต้องการความขยันความอดทน ความพยายาม และความละเอียดประณีตเป็นอย่างมาก รวมทั้งการทอผ้าเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมของอวัยวะที่จะเริ่มต้นมีครอบครัวผ้าที่ทอจะนำมาใช้ในครอบครัวในชีวิตประจำวันตามโอกาสต่างๆ หรือใช้ในการแลกเปลี่ยนผลผลิตอื่นๆ
          
           การสร้างสรรค์ลวดลายผ้าเป็นมรดกที่สืบทอดต่อกันมาที่ผู้ทอไม่ใช่ช่างและไม่ได้มีการเรียนมาจากสถาบันศิลปะและการช่างแต่ประการใดหากแต่เป็นฝีมือที่เกิดขึ้นได้รับการถ่ายทอดที่สืบต่อเนื่องกันมาจากบรรพชนส่วนใหญ่และได้อาศัยเวลายาวนานฝึกฝน ขัดเกลาแก้ไขข้อบกพร่องจนไดงานทอผ้าทีมีประโยชน์ใช้สอยอย่างสมบูรณ์งานที่สร้างสรรค์ทุกชิ้นจะมีคุณค่าทางความงามและคุณค่าทางศิลปะควบคู่กันอย่างสมบูรณ์ของแต่ละท้องถิ่นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความสามารถที่สังคมสืบทอดกันมาเป็นภูมิปัญญาของชุมชน ที่หล่อหลอมจากขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและวัฒนธรรมไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไทยได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นถ้ามีการค้นคว้าวิจัยถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างเป็นธรรมไม่นำสภาวะปัจจุบันไปเป็นตัวกำหนดก็จะพบความสามารถของชาวบ้านในชนบทและไดนำกระบวนการต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ต่างๆในปัจจุบัน(ประวัติความป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดอุดรธานี,ม.ป.ป. ออนไลน์)

           9.3 ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดขอนแก่น
           จุดเริ่มต้นของภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายบ้านทรัพย์เจริญ ชาวบ้านทรัพย์เจริญได้สืบสานสืบทอดการทอผ้ามาแต่บรรพบุรุษเป็น ๒๐ ปี ๓๐ ปีแล้วเช่นเดี่ยวกับชาวภาคอีสานซึ่งมีอาชีพหลักในการทำนา ทำไร่และเลี้ยงสัตว์ ผู้ชายมีหน้าที่รับจ้าง ผู้หญิงทำแต่งานแม่บ้านเท่านั้น ทอผ้าใช้ในครัวเรือน ชาวบ้านทรัพย์เจริญได้ร่วมกลุ่มในปี ๒๕๔๖ และใน ว่าจะทำอะไรที่ได้ความรู้และมีรายได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทอผ้าขาวม้า ผ้าฝ้าย และผ้าไหม และในปี ๒๕๔๘ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนและศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนได้ให้งบประมาณสนับสนุนในการให้ความรู้และจัดซื้อวัสดุให้กลุ่มจนเป็นอาชีพเสริมให้กับองค์กรสตรีในปัจจุบัน การสั่งสมสืบสานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการนำภูมิปัญญาของคนในสมัยเก่าแก่มาปรับปรุงแปรรูปสินค้าให้เกิดความสวยงามและนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเกิดรายได้โดยการทอผ้าออกจำหน่ายในหมู่บ้านและส่งต่างจังหวัด(ประวัติความป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดขอนแก่น,ม.ป.ป. ออนไลน์)
          
           9.4 ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดอำนาจเจริญ
           เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ กลุ่มสตรีในหมู่บ้านโคกยาว หมู่ที่ ๑๕ ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ได้รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษด้านการทอเสื่อกก และทอผ้าพื้นเมือง ที่คนในชุมชนส่วนใหญ่จะทอใช้เองในครัวเรือน และเพื่อตอบสนองนโยบายของทางรัฐบาลในการสำรวจข้อมูลสินค้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยมี นางสำเริง เบิกบาน เป็นประธานกลุ่มตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มจากการทอเสื่อกกมัดหมี่ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของกลุ่มในการออกจำหน่ายในท้องตลาด ในปี ๒๕๔๗ กลุ่มได้ส่งผลิตภัณฑ์เสื่อกกมัดหมี่ เข้าคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ได้ระดับ ๓ ดาว แต่กลุ่มฯ ต้องเจอปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน เพราะต้นกกซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญต้องซื้อจากท้องถิ่นอื่น ราคาไม่คงที่ขึ้นอยู่กับความยาวของต้นกก ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง และตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์แคบ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กลุ่มได้เปลี่ยนแนวคิดจากการทอผ้าย้อมสีเคมี มาเป็นทอผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าเรื่อยมา ในปี ๒๕๕๓ กลุ่มได้ลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และส่งเข้าคัดสรร ได้ระดับ ๓ ดาว(ประวัติความป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดอำนาจเจริญ,ม.ป.ป. ออนไลน์)


           9.5 ประวัติความเป็นมาซิ่นตีนจกเชียงใหม่
           เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญของล้านนา ภายใต้การปกครองของเจ้านายเชื้อเจ็ดตน ก่อนที่จะถูกรวมให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม และประเทศไทยในปัจจุบันการที่เมืองเชียงใหม่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการทางสังคมมาอย่างยาวนาน ทำให้มีการสั่งสมเอกลักษณ์ทางด้านประเพณีวัฒนธรรมที่เด่นชัด ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การแต่งกาย เอกลักษณ์การแต่งกายที่สำคัญของผู้หญิงชาวเชียงใหม่ คือ ผ้าซิ่น
           ผ้าซิ่นที่ผู้หญิงชาวเชียงใหม่ในอดีตนิยมเป็นอย่างมาก มี 2 ชนิด คือ ซิ่นตาและ ซิ่นตีนจกอันเป็นรูปแบบผ้าซิ่นที่สืบทอดมาอย่างยาวนานของชาวไทยวน ผ้าซิ่นโดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือหัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ส่วนหัวซิ่น เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนสุดของผ้าซิ่น ตีนจก โดยทั่วไปมักประกอบขึ้นจากผ้า 2 ชิ้น คือ ผ้าสีขาวและสีแดงเย็บต่อกัน บ้างครั้งก็อาจเป็นผ้าสีแดงหรือสีดำเพียงชิ้นเดียวส่วนตัวซิ่นส่วนใหญ่เป็นลายขวางลำตัว เรียกว่า ลาย ต๋าหรือ ก่านส่วนตีนซิ่นจะเป็นผ้าทอธรรมดาสีแดงเข้ม สีน้ำตาล หรือดำ หากเป็นซิ่นตีนจก ส่วนนี้จะเป็นผ้าที่ทอด้วยเทคนิคจกสลับสีเส้นไหม ไหมเงิน และไหมคำเป็นลวดลายอย่างงดงามซิ่นตีนจก นับเป็นศิลปะพื้นบ้านที่แสดงถึงความละเอียดประณีต และความมีรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ทอเอง นอกจากนี้ลวดลายตีนจกในแต่ละท้องที่ ก็จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นผลมาจากรสนิยมการรับรู้สุนทรียภาพทางความงามที่แตกต่างกันออกไปหรืออาจเป็นผลมาจากวัสดุที่ใช้ทอในแต่ละท้องที่ต่างกัน ผ้าซิ่นตีนจกที่ปรากฏหลงเหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่ในปัจจุบันของจังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏในตัวเมือง หรือเวียงเชียงใหม่ อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอดและอำเภอดอยเต่า
           รูปแบบของผ้าซิ่นตีนจกในเวียงเชียงใหม่นี้อาจสันนิษฐานได้จากตัวอย่างผ้าที่ตกทอดในทายาทตระกูล ณ เชียงใหม่ ตระกูลคหบดีเชียงใหม่ และที่ได้มีผู้เก็บสะสมส่วนตัวหลายท่าน โดยรูปแบบเป็นผ้าซิ่นที่ประกอบด้วยหัวซิ่นสีขาว แดง หรือดำ ทำจากผ้าฝ้ายโรงงานเนื้อดีของอังกฤษ บางครั้งเป็นผ้าพิมพ์ลาย หรือกำมะหยี่ ตัวซิ่นมีทั้งที่เป็นฝ้ายและไหม ไหมที่ใช้ทอเป็นไหมน้อยจากประเทศจีน เส้นเล็กบางแต่เหนียวมากบางคนเรียกว่า ไหมหยุ้มเดียวเพราะสามารถรวบผ้าไหมทั้งผืนให้มาอยู่ในกำมือเดียวได้ ในผ้าซิ่นของสตรีชั้นสูงในราชสำนักเชียงใหม่ยังพบว่า มีตัวซิ่นลักษณะพิเศษอีกแบบหนึ่ง คือ ตัวซิ่นเป็นลายขวางสลับกับจกลายดอกไม้ขนาดเล็กเรียงเป็นแถว ซึ่งจะต้องใช้ไหมทองในการทอทั้งผืน ซึ่งตัวซิ่นลักษณะดังกล่าวนี้ ต้องอาศัยความชำนาญในการทอเป็นอย่างสูงและใช้วัสดุมีค่าจำนวนมาก ทำให้ปรากฏตัวอย่างในปัจจุบันน้อยมาก ตัวซิ่นลักษณะนี้ยังปรากฏในภาพถ่ายเจ้าหญิงอุบลวรรณาอีกด้วยส่วนบริเวณเชิง หรือที่เรียกว่า ตีนจกทอขึ้นจากเส้นไหมเนื้อละเอียด หากไม่เป็นไหมล้วน ก็มักจะพุ่งด้วยเส้นไหม ทอด้วยเทคนิคจก แทรกไหมสีต่าง ๆ ไหมเงิน ไหมทอง แล่ง หรือกระดาษทองพันกับฝ้ายลวดลายจกมีลักษณะคล้ายคลึงกันแทบทุกผืน เรียกได้ว่าเป็นแบบมาตรฐาน คือ มีลายหลักเป็นลายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ที่เรียกว่า โคมลายโคมมีขนาดใหญ่อย่างเห็นได้ชัด มีลายประกอบด้านบน 2 แถว และด้านล่าง 1 แถว มักเป็นลายนกคู่กินน้ำร่วมต้น ปิดท้ายด้วยลายเชิง เรียกว่า หางสะเปาสีดำล้วน ซิ่นตีนจกแบบจารีตมักมีพื้นส่วนเชิง เรียกว่า เล็บซิ่นเป็นสีแดง
           ต่อมาได้เกิดค่านิยมแต่งกายด้วยสีเดียวกันทั้งชุดในปลายรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 ต่อเนื่องมาถึงรัชกาลที่7 ทำให้เกิดเล็บตีนจกหลากสี เช่น เล็บสีน้ำเงิน สีม่วง สีบานเย็น สีเขียว เป็นต้น ซึ่งเล็บซิ่นนี้จะต้องเข้าเป็นสีเดียวกันกับตัวซิ่น ที่ได้ทอเตรียมไว้ก่อนลักษณะผ้าซิ่นตีนจกแบบเวียงเชียงใหม่นี้ เรียกได้ว่าเป็นแบบมาตรฐานของผ้าซิ่นตีนจกของเจ้านายล้านนา(ซิ่นตีนจกเชียงใหม่,ม.ป.ป. ออนไลน์)


           9.6 ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดสกลนคร
           จากภูมิปัญญาชาวบ้านสู่งานหัตถศิลป์ จากผ้าฝ้ายย้อมครามทอมือสู่ผลิตภัณฑ์ทรงคุณค่า ผ้าผิวสวยผ้าย้อมคราม สกลนคร เป็นมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าจากบรรพบุรุษที่บรรจงปั้นแต่งผลงานชิ้นเอกบนเส้นสายใยผ้าจนได้เป็นผืนผ้าสีฟ้าครามงามเฉิดฉายประดับเรือนกายด้วยลวดลายต่างๆ  เขาเล่าว่า...ผ้าย้อมครามสามารถบำรุงผิวของเราให้สวยได้ นับเป็นความโดดเด่นน่าหลงใหลของผ้าย้อมครามที่แตกต่างจากผ้าอื่นๆ เพราะความนุ่มละเมียดมือยามสัมผัส หรือยามสวมใส่ก็รู้สึกเย็นกาย และยังบำรุงผิวพรรณให้เนียนสวย
          สีครามที่ประดับอยู่เต็มผืนผ้าจากการย้อมเส้นฝ้ายด้วยครามธรรมชาติแท้ แล้วนำมาถักทอขึ้นเป็นลวดลายอันวิจิตรบรรจง กลายเป็นความโดดเด่นที่น่าภาคภูมิใจ และทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย ซึ่งเดิมเป็นกลุ่มทอผ้าย้อมครามเล็กๆ ที่มีสมาชิกเพียง 9 คน ก่อตั้งในปี 2546 กลายมาเป็นกลุ่มท่อผ้าย้อมครามขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันมีสมาชิกอยู่ถึง 45 คน
           คุณถวิล อุปรี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย เผยเคล็ดลับการทำย้อมครามของกลุ่มว่า เราทำผ้าย้อมครามตามภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างจากที่อื่นๆ จะแตกต่างก็ที่คนทำ เพราะหากนำเส้นฝ้ายย้อมเคมีมาเป็นทางยืนเวลาทอ แล้วใช้เส้นฝ้ายย้อมครามเป็นทางพุ่ง ผ้าที่ได้ออกมาก็แตกต่างกันแล้ว แต่ของบ้านดอนกอยที่เราทำคือ ทางยืนก็ใช้ฝ้ายย้อมคราม ทางพุ่งก็ใช้ฝ้ายย้อมคราม จึงแตกต่างตรงนี้ ซึ่งผ้าฝ้ายย้อมครามของเราจะนิ่ม เวลานำไปใช้สวมใส่จะพลิ้วดูแล้วสวยงาม เคล็ดลับของเราก็คือพูดจริงทำจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ ใช้ฝ้ายย้อมครามธรรมชาติแท้ ผ้าทอย้อมครามทุกเส้นทุกสาย เราเอาใจใส่ดูแลอย่างสม่ำเสมอ สมาชิกของเราก็มีความซื่อสัตย์ เอื้ออารี ปรองดองกัน ก็เลยทำได้ หลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จเดือนพฤศจิกายนแล้วก็จะมารวมกลุ่มกันทำผ้าย้อมครามไปจนถึงเดือนมิถุนายนของอีกปีหนึ่ง
           สำหรับวิธีการย้อมจะเริ่มต้นตั้งแต่การปลูกต้นครามกันเอง เมื่อต้นครามอายุได้ประมาณ 3 เดือน ขนาดความสูงประมาณหน้าอกหรือเอว สมาชิกก็จะไปเก็บใบคราม โดยคัดกรองตั้งแต่สีของใบที่เก็บมาจะต้องเป็นสีเขียวเข้มซึ่งจะให้เนื้อครามที่สวย นำใบครามมาแช่น้ำในสัดส่วนใบคราม 4 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ตั้งทิ้งไว้แล้วจึงมากลับใบครามด้านล่างให้ขึ้นมาอยู่ด้านบนบ้าง กระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้นจึงนำใบครามขึ้นจกน้ำ รวมเวลาในการแช่ใบครามประมาณ 24-28 ชั่วโมง จากนั้นนำปูนแดงหรือปูนขาวมาละลายด้วยน้ำแช่ใบครามก่อนจะเทผสมกับน้ำใบครามที่เหลือ  แล้วจกหรือตีน้ำให้ขึ้นฟองสีน้ำเงิน ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง เทน้ำที่อยู่ด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลออกจนเหลือเนื้อครามด้านล่าง นำเนื้อครามมากรองเศษใบครามที่เหลือและน้ำออกจนเหลือแค่ตะกอนเนื้อคราม
           ส่วนขั้นตอนการย้อมเริ่มต้นจากการต้มน้ำโดยใส่เปลือกไม้ เช่น เปลือกต้นสมอ เปลือกต้นลิ้นฟ้า (ต้นเพกา) หรือใบไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นลงไปต้มจนได้น้ำสีเหลืองเข้มหรือน้ำตาลอ่อน ก่อนจะนำมากรองใส่ภาชนะที่จะก่อหม้อเตรียมย้อม โดยสัดส่วนน้ำเปลือกไม้ 15 กิโลกรัม เนื้อคราม 1 กิโลกรัม มะขามเปียกเท่าลูกไข่ และน้ำด่าง 1 กิโลกรัม ซึ่งทำจากหัวกล้วยเน่า มะละกอเน่า กะลามะพร้าว ต้นมะขาม ต้นเถาวัลย์ นำมาเผารวมกันได้เป็นขี้เถ้า ไปผสมน้ำและนำไปกรอง จะได้น้ำด่างที่มีรสเค็มช่วยให้ครามจับกับเส้นใยฝ้ายได้ดีขึ้น เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดผสมกันดีแล้ว ใช้ขันจกน้ำที่ก่อหม้อจนเปลี่ยนสีเป็นเหลืองอมเขียวและขึ้นฟองจึงใช้ย้อมได้
           ด้วยกรรมวิธีการย้อมครามทำให้เห็นได้ว่ากว่าจะมาเป็นเส้นฝ้ายสีฟ้าสวยใส ก็ต้องผ่านกรรมวิธีการย้อมครามที่อาศัยความละเมียดเอาใจใส่ จึงนับเป็นงานหัตถศิลป์ที่ทรงคุณค่า และกว่าจะมาเป็นผ้าซิ่น ผ้าผืน ให้ได้นำไปสวมใส่หรือดัดแปลงเป็นเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็ยังต้องผ่านการถักทออีกหลายวัน ซึ่งคุณถวิลบอกว่าที่ทำทั้งหมดนี้ก็เพราะใจรัก และได้สืบทอดภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายไปด้วย โดยผลิตภัณฑ์ของกลุ่มที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าถุง ผ้าพันคอ ผ้าเอนกประสงค์ ส่วนลวดลายที่ถักทอนั้นจะเป็นลายดั้งเดิม เช่น ลายนกนางแอ่น ลายดอกจำปา ลายโคมไฟใหญ่ ลายสายใยบัว ลายบานไม่รู้โรย ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมากสาร์-อาทิตย์ และวันสำคัญทางศาสนา ณ บริเวณหน้าวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมือง จ.สกลนคร
           ซึ่งคุณวารีกล่าวถึงผ้าลายน้ำไหลไว้ว่าจุดเด่นของผ้าลายน้ำไหลคือเวลาที่ปั่นฝ้ายแล้วเอามามัดเพื่อนำไปย้อม เราจะมัดถี่ มัดห่าง เมื่อนำมาทอแล้วลายจะสไลด์ไปตามลายของเส้นฝ้ายเอง ซึ่งจะเลียนแบบกันไม่ได้ ถ้าไม่เรียนก็จะทำออกมาไม่เป็นลาย แล้วลายใหญ่หรือเล็กก็อยู่ที่การมัดของเรา
           นอกจากผ้าย้อมครามลายน้ำไหลแล้วก็ยังมีลายอื่นๆ อีกหลายลายที่โดดเด่นและเป็นที่นิยม เช่น ลายดอกพิกุลเล็ก ลายนกยูง ลายไทย ลายสก๊อต หรือลายสะเก็ดดาว ที่งดงามตระการตาราวกับดวงดาวบนฟากฟ้าตกร่วงสู่ผืนพสุธาจริงๆ
           ส่วนของกระบวนการทำผ้าย้อมครามของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโนนเรือสามัคคี คุณวารีเล่าว่าเกิดจากการเรียนรู้และไปอบรมจากหลายๆ แหล่ง ผนวกกับการลองผิดลองถูก จนผลิตภัณฑ์สามารถนำออกจำหน่ายได้ และก่อตั้งเป็นกลุ่มที่เริ่มต้นมีสมาชิกเพียง 10 กว่าคน จนถึงทุกวันนี้มีสมาชิกถึง 32 คน โดยการทำผ้าย้อมครามของที่นี่จะเริ่มตั้งแต่การปลูกคราม เก็บใบครามมาหมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จากนั้นแยกใบครามออก ก่อนใส่ปูนแดง มะขามเปียก ส้ม ลงไปและกวนให้ได้เนื้อคราม ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง จึงนำมาเทน้ำใสๆ ที่อยู่ด้านบนออกให้เหลือแต่ตะกอนครามด้านล่าง แล้วกรองเอาแต่เนื้อครามมาใช้ย้อมเส้นฝ้าย
           ในการย้อมจะมีการมัดฝ้ายแต่ละไจให้เป็นลวดลาย เช่น ลายก้นหอยจะต้องจับเส้นฝ้ายม้วนขดเป็นก้นหอย ลายไส้กรอกต้องพับเส้นฝ้ายในลักษณะยาวตรง หรือลายนกน้อยก็ต้องจับให้เป็นจีบแล้วมัด เมื่อคลี่ออกมาแล้วจะได้ลักษณะที่เหมือนนก ซึ่งการมัดฝ้ายเพื่อย้อมครามนี้ถือเป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ผ้าทอบ้านโนนเรือเลยทีเดียว
           จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของผ้าทอบ้านโนนเรือที่แตกต่างจากที่อื่นอย่างเห็นได้ชัด ก็คือสีที่สดใสของผ้าจากการย้อมด้วยครามธรรมชาติแท้ ทำให้ดูสะอาดตา และมีริมผ้าที่สวยงามกว่าที่ไหนๆ เพราะปกติถ้าทอโดยไม่ได้เรียน ริมผ้าจะมีขนาดใหญ่ทำให้ผ้าไม่สวยเท่าที่ควร แต่สำหรับผ้าทอบ้านโนนเรือจะมีริมขนาดเล็กเพราะใส่เส้นฝ้ายเพียง 2 เส้น เวลาทอจะทำให้ริมผ้าเรียบเล็กสวยงาม นับได้ว่าเป็นความแตกต่างที่ทำให้ผลงานผ้าทอย้อมครามของบ้านโนนเรือโดดเด่นดึงดูดตาและต้องใจผู้หลงใหลในเส้นสายของผ้าทออย่างแท้จริง(ประวัติความป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดสกลนคร,ม.ป.ป. ออนไลน์)


           9.7 ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดเลย
           กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านศรีพัฒนา หมู่ที่ ๕ ตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย การก่อตั้งกลุ่ม ก่อตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีนางหวิ่น กรมทอง เป็นประธานกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มอีก จำนวน ๙ คน ได้เล็งเห็นเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัวและเพื่อที่จะถ่ายทอดการทอผ้าฝ้ายนี้จากบรรพบุรุษถึงรุ่นลูกหลาน โดยการรวมกลุ่มกันและได้สร้างโรงเรือนทอผ้าที่บ้านเลขที่ ๔๓ หมู่ที่ ๕ ตำบลจอมศรี อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ได้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าบ้านศรีพัฒนา อำเภอเชียงคาน ได้รับการจดทะเบียนในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ และเคยได้รับรับรางวัลการประกวดผ้าพื้นเมือง ประเภทผ้าลายได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ และได้รับรางวัลการประกวดผ้าพื้นเมือง ประเภทผ้าลายได้รางวัลชนะเลิศ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙
           ปัจจุบัน ผ้าฝ้ายทอมือได้กลายเป็นสินค้าที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวบ้านหลายครัวเรือน โครงการนี้ได้ส่งเสริมให้ราษฎรอยู่อย่างพอมี พอกิน รู้จักปลูกพืชผักสวนครัว ทอผ้าใช้เอง เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา มีการพึ่งพาอาศัยกันในหมู่บ้าน รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีการทอผ้าของชาวบ้านจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สืบทอดวัฒนธรรม ประเพณี ประจำหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
           ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือสะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และความประณีตอย่างมีศิลปะของบรรพบุรุษ ในการนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาแปรรูปที่สวยงาม มีคุณค่า และเป็นที่ต้องการของผู้พบเห็น การเชื่อมโยงการทอผ้าและวัฒนธรรมชุมชน ทำให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อยู่กันแบบพี่น้องเครือญาติ ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ พึ่งพาผูกพัน มีความสำคัญต่อกันตลอดมา เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้กับคนในชุมชน(ประวัติความป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดเลย,ม.ป.ป. ออนไลน์)

  
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
1.วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
        1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
               ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอเขื่องในที่มีความรู้เรื่องการทอผ้า
        1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
               โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์ หนังสือเกี่ยวกับเนื้อหา แบบสอบถามเกี่ยวกับการทอผ้า
        1.3 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
               การทำแบบสอบถามเกี่ยวกับการทอผ้า
        1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
               สืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จดบันทึกตามหนังสือเล่มต่างๆ
        1.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
               นำข้อมูลจากเว็บไซต์หลายๆเว็บและหนังสือหลายๆเล่มรวมถึงแบบสอบถามมาเปรียบเทียบกันและเลือกข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด ถูกต้องที่สุด



บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการศึกษาโครงงาน IS ในครั้งนี้ได้ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง20คนดังนี้
การทอผ้า
ระดับความพึงพอใจ(จำนวนคน)
รวม
คะแนน
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
การอนุรักษ์ผ้าฝ้าย
1.คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์การทอผ้าไว้
12
6
2


80
2.คนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้การทอผ้า
5
10
5


80
3.คนรุ่นใหม่ควรหัดทอผ้า
5
4
11


54
4.คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์ลายผ้าฝ้ายแบบดั้งเดิม
10
8
2


88
5.คนรุ่นใหม่ควรใส่เครื่องนุ่งห่มจากผ้าฝ้าย
11
6
3


78
การแปรรูป
1.ควรนำความคิดที่ทันสมัยร่วมกับดั้งเดิมมาทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
10
7
3


80
2.ควรมีการนำผ้าฝ้ายมาดัดแปลงให้ทันสมัย
10
7
2
1

79
รวมคะแนนโดย มากที่สุด = 5 คะแนน   มาก = 4 คะแนน ปานกลาง = 3 คะแนน  น้อย = 2 คะแนน น้อยที่สุด = 1 คะแนน       
จากแบบสอบถามพบว่า
จากผู้หญิง 20 คน อายุ 31-50 จำนวน 4 คน , 51-70 จำนวน 10 คน , 71 ขึ้นไป จำนวน 6 คน
จากระดับความพึงพอใจผู้ทอผ้าอยากให้
1.คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์การทอผ้าไว้ 80 %
2.คนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้การทอผ้า 80 %
3.คนรุ่นใหม่ควรหัดทอผ้า 54 %
4.คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์ลายผ้าฝ้ายแบบดั้งเดิม 88 %
5.คนรุ่นใหม่ควรใส่เครื่องนุ่งห่มจากผ้าฝ้าย 78 %
6.ควรนำความคิดที่ทันสมัยร่วมกับดั้งเดิมมาทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 80 %
7.ควรมีการนำผ้าฝ้ายมาดัดแปลงให้ทันสมัย 79 %
ลายผ้าที่ทอ
เคย
ไม่เคย
1. กลุ่มของลายสัตว์ เช่น ช้าง พญานาค รังผึ้ง ตะขาบ                           
14
6
2. กลุ่มของลายพันธุ์ไม้ เช่น ดอกแก้ว ดอกมะลิ ดอกพิกุล
15
5
3. กลุ่มของลายสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ธรรมาสน์ ขันหมาก ดาวเทียม
7
13
4. กลุ่มของลายรูปทรงเรขาคณิต เช่น เส้นตรง วงกลม สามเหลี่ยม
17
3
5. กลุ่มของลายผสม หรือลายขัดแพรวา เช่น ช่อขันหมาก นาคสี่เหลี่ยม เป็นต้น
8
12
ลายอื่นๆได้แก่ ลายพระธาตุ ลายปราสาท ลายตาหม่อง ลายหมี่ขอ
จากแบบสอบถามพบว่า
1. กลุ่มของลายสัตว์ เช่น ช้าง พญานาค รังผึ้ง ตะขาบ เคย 70 % ไม่เคย 30 %         
2. กลุ่มของลายพันธุ์ไม้ เช่น ดอกแก้ว ดอกมะลิ ดอกพิกุล เคย 75 % ไม่เคย 25 %
3. กลุ่มของลายสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ธรรมาสน์ ขันหมาก ดาวเทียม เคย 35 % ไม่เคย 65 %
4. กลุ่มของลายรูปทรงเรขาคณิต เช่น เส้นตรง วงกลม สามเหลี่ยม เคย 85 % ไม่เคย 15 %
5. กลุ่มของลายผสม หรือลายขัดแพรวา เช่น ช่อขันหมาก นาคสี่เหลี่ยม เป็นต้น เคย 40 % ไม่เคย 60 %


บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปผล
การอนุรักษ์ผ้าฝ้าย
1.คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์การทอผ้าไว้ 80 คะแนน
2.คนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้การทอผ้า 80 คะแนน
3.คนรุ่นใหม่ควรหัดทอผ้า 54 คะแนน
4.คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์ลายผ้าฝ้ายแบบดั้งเดิม 88 คะแนน
5.คนรุ่นใหม่ควรใส่เครื่องนุ่งห่มจากผ้าฝ้าย 78 คะแนน
การแปรรูป
1.ควรนำความคิดที่ทันสมัยร่วมกับดั้งเดิมมาทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ 80 คะแนน
2.ควรมีการนำผ้าฝ้ายมาดัดแปลงให้ทันสมัย 79 คะแนน
สรุปว่า การอนุรักษ์และการแปรรูปควรกระทำมากกว่า 50 %
อภิปรายผล
1.คนที่เคยทอผ้าหรือกำลังทออยู่ในปัจจุบันอยากให้คนรุ่นใหม่ควรอนุรักษ์ลายผ้าฝ้ายแบบดั้งเดิมมากที่สุดเพราะแฟชั่นของต่างประเทศเข้ามามีอิทธิพลกับวัยรุ่นไทยจนทำให้ศิลปะอันดีเลือนหายไป
2.คนรุ่นใหม่ควรหัดทอผ้าน้อยที่สุดเพราะคนที่เคยทอส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ค่อนข้างมีอายุจะเข้าใจว่าการหัดทอผ้าเป็นสิ่งที่ไกลตัววัยรุ่นแต่ก็หวังว่ามีบางคนที่ยังสนใจอยู่จึงคิดว่าเป็นไปได้ไม่มากหากจะให้คนสมัยใหม่หัดทอผ้า
3.ลายผ้าที่มีกลุ่มตัวอย่างเคยทอมากที่สุดคือกลุ่มของลายรูปทรงเรขาคณิต เนื่องจากเป็นลายที่เป็นพื้นฐานของหลายๆลาย
4.ลายที่มีกลุ่มตัวอย่างเคยทอน้อยที่สุดคือกลุ่มของลายสิ่งของเครื่องใช้ เนื่องจากที่เป็นลายที่ค่อนข้างทำได้ยาก
5.จากสุ่มทำแบบสอบถามพบว่าคนที่มีความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าที่มีอยู่ในอำเภอเขื่องในส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 51-70 ปี และในช่วงอายุ 10-30 ปีไม่พบคนที่ทอผ้าได้ จะเห็นได้ชัดเจนว่าคนรุ่นหลังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการทอผ้าหรือไม่เคยทอผ้าเลย
ข้อเสนอแนะ                 
1.อยากให้ส่งเสริมการทอผ้าของหมู่บ้าน
2.ให้มีกี่และหูก (อุปกรณ์ในการทอผ้า) ไว้ให้เด็กๆเรียนรู้
3.ให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการทอผ้า
4.ควรบันทึกวิธีการทอผ้าอย่างละเอียดไว้เพื่อง่ายต่อคนที่อยากหัดทอผ้า
5.ควรเผยแพร่ลายผ้าที่เป็นดั้งเดิมและสร้างสรรค์ลายใหม่ๆ


บรรณานุกรม
   
การทอผ้า. สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://www.chaimongkol.net/
การทำเส้นฝ้าย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://phathai.tripod.com/index.html
การปลูกฝ้าย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://www.chaimongkol.net/
ความเป็นมาของผ้าไทย.  (ออนไลน์).  สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://phathai.tripod.com/index.html
ความเป็นมาของผ้าฝ้าย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://www.chaimongkol.net/
ความสำคัญของการทอผ้า. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://pna551.blogspot.com/
ความสำคัญด้านวัฒนธรรมของการทอผ้า. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : https://krupaewka.wordpress.com/
ซิ่นตีนจกเชียงใหม่. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่  11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา :
    http://www.chiangmai-cityofcrafts.com/th/events/ซิ่นตีนจกเชียงใหม่
นวลแข ปาลิวนิช. (2534). ความรู้เกี่ยวกับผ้าสำหรับวัยรุ่น. [ม.ป.ท.]. : โรงพิมพ์การศาสนา.
นิภาพร ทับหุ่น. (2547,เมษายน). Tin Chok A Legend of Thai Cultural Heritage ‘ตีนจกตำนานสมบัติแห่งบรรพชน. กินรี KINNAREE,ปีที่(ฉบับที่). 79-90 92 และ 94. 
ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายขอนแก่น. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/
ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายจังหวัดน่าน. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา: http://www.clicksii.com/photostock/
ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายเลย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/
ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายสกลนคร. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/
ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายอำนาจเจริญ. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/
ประวัติความเป็นมาผ้าฝ้ายอุดรธานี. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561.  แหล่งที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/
ลักษณะเนื้อผ้าฝ้าย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา :
http://www.chu-g.com/
ลักษณะลวดลายผ้าไทย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://phathai.tripod.com/index.html
สตรวน รีด. (2540). เส้นทางสายไหมและเส้นทางสายเครื่องเทศ ประดิษฐกรรมและการค้า. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพานิช.
สมชาย นิลอาริ. (2537). ผ้าฝ้าย:ผ้าทอเพื่อชีวิต. [ม.ป.ท]. :โรงพิมพ์ครุสภาลาดพร้าว.
แหล่งกำเนิดของผ้าฝ้าย. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://www.chaimongkol.net/
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า. (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 11 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา : http://phathai.tripod.com/index.html





ภาคผนวก
   























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น